วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โรคกระเพาะอาหารและลำไส้

นางสาวพิมพ์บุณยากรณ์  ทนหนองแวง รหัส 5305110061


http://www.ku.ac.th/e-magazine/july46/know/bladder.html


บทนำ

กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะที่อยู่บนระดับลิ้นปี่ ทำหน้าที่เป็นที่พักและย่อยอาหารให้แตกย่อยในเบื้องต้น จากนั้นจึงส่งต่อไปยังลำไส้เล็กเพื่อผ่านกระบวนการย่อยและดูดซึม
โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง  แต่อุบัติการณ์การของโรคนี้ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานจำนวนที่แน่นอน โรคนี้พบได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั่วไป สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยมีรายงานว่าแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นคบได้บ่อยในคนวัยหนุ่มสาว  โดยอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้คือ 35 ปี  และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 4 เท่า ส่วนแผลที่กระเพาะอาหารมักพบในวัยกลางคนขึ้นไป โดยอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้คือ 42 ปี และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 3 เท่า 1
เพราะฉะนั้นโรคกระเพาะอาหารเปรียบเสมือนดั่งภัยเงียบที่คอยบั่นทอนสุขภาพ หากละเลยไม่ให้ความใส่ใจดูแลสังเกตตนเองบ้าง อาจทำให้ได้รับความรุนแรงของโรคจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากพบว่าอาการปวดท้องของตนเองหรือบุคคลใกล้ชิด มีอาการที่ใกล้เคียงกับโรคต่างๆ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้นานนอกจากจะส่งผลให้การรักษาไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควรแล้ว ก็อาจลุกลามกลายเป็นโรคร้ายแรงและอาจสูญเสียชีวิตในที่สุด

ความหมาย

ภาวะที่มีแผลเยื่อบุกระเพาะ และลำไส้ถูกทำลายถึงแม้ว่าจะเรียกว่าโรคกระเพาะ แต่สามารถเป็นได้ทั้งที่กระเพาะและลำไส้ ว่า ถ้าเป็นเฉพาะเยื่อบุกระเพาะเรียก gastritis แต่ถ้าเป็นแผลถึงชั้นลึกmuscularis mucosa เรียก ulcerถ้าแผลอยู่ที่กระเพาะเรียก gastric ulcerถ้าแผลอยู่ที่ลำไส้เล็กเรียกduodenal ulcer โรคกระเพาะพบได้ทุกวัย 2
  คำว่า "โรคกระเพาะ" ตามความหมายของแพทย์  หมายถึง   แผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร (stomach) หรือลำไส้เล็กส่วนต้นหรือดูโอดีนัม (duodenum) ตรงกับคำว่า แผลเพ็ปติก (Peptic ulcer) แต่เนื่องจากเรามักจะวินิจฉัย ผู้ที่มีอาการปวดท้องตรงยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ที่เกิดก่อนหรือหลังกินอาหารว่าเป็น "โรคกระเพาะ" โดยไม่มีการตรวจยืนยันด้วยการส่องกล้องตรวจ หรือเอกซเรย์โดยการกลืนแป้งแบเรียม ดังนั้น จึงมีความหมายครอบคลุมกว้างขวางมากกว่า แผลเพ็ปติกเพียงอย่างเดียว และคงใกล้เคียงกับความหมายของคำว่า "อาหารไม่ย่อย" 3 ซึ่งมีสาเหตุอันหลากหลาย ป็นโรคที่พบได้บ่อยจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตและโรคนี้ก็สามารถพบได้ในคนทุกวัย


สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะมีมากมายแต่เชื่อกันว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง
1.            เชื่อโรค Helicobacter pylori เป็นเชื้อรูปแท่งติดสีน้ำเงิน มีความสามรถอยู่ในสภาวะกรดได้ดีเป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่สำคัญของผู้ป่วยโรคกระเพาะ เชื่อว่าติดต่อโดยการรับประทานอาหาร และน้ำ เชื้อจะทำลายเยื่อบุ และฝังตัวที่กระเพาะอาหาร กรดจากกระเพาะอาหารจะช่วยทำลายเยื่อบุทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
2.             สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งต่อไปนี้กระตุ้นให้กรดหลั่งมาก
  • กระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์
  • การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง
  • ชา กาแฟ และน้ำดื่มที่มี Caffeine จะทำให้กรดหลั่งออกมามาก
  • การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามาก
  •  การกินอาหารไม่เป็นเวลา
  • ภาวะที่มีกรดหลั่งออกมามาก เช่นโรค Zollinger-Ellisson syndrome กรดที่หลั่งออกมามากจะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
3.              มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจาก
  •  การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆโดยเฉพาะสารที่ระคายกระเพาะ เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID แม้วว่าจะให้ยาโดยการฉีดหรืออมใต้ลิ้นก็มีโอกาสเกิดแผลที่กระเพาะ เนื่องจากนี้จะไปกระตุ้นให้เกิด cyclooxigenase II (Cox II) ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะ
  • การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำสมสายชู
  • การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบี้ย ยาดอง
4.            ประวัติเป็นโรคกระเพาะในครอบครัวหากครอบครัวไหนมีโรคกระเพาะ คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระเพาะอาหารสูง  4

อาการของโรคกระเพาะอาหาร
ส่วนใหญ่มีอาการปวดท้องบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่มีประวัติเป็นเรื้อรังมา นาน โดยสุขภาพทั่วไปไม่ทรุดโทรม บางรายมีอาการจุก เสียด แน่น เจ็บแสบหรือร้อน อาการจะสัมพันธ์กับการกิน หรือชนิดของอาหาร เช่น อาจปวดมากตอนหิว หลังอาหาร อาการจะทุเลา แต่ผู้ป่วยบางคนอาการปวดเป็นมากขึ้นหลังอาหาร โดยเฉพาะอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น บางรายอาจมีอาการปวดท้องตอนกลางคืน 5  ลักษณะอาการปวดท้องที่สำคัญ คือ
1. ปวดท้อง
  • ปวดบริเวณลิ้มปี ปวดแบบแสบๆหรือร้อนๆ ปวดเรื้อรังมานาน เป็นๆหายๆเป็นเดือนหรือเป็นปี
  • ปวดสัมพันธ์กับอาหาร เช่น ปวดเวลาหิวหรือท้องว่างเมื่อกินอาหารหรือนม จะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือนมจะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือปวดกลางดึกก็ได้
2. จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน
3. อาการโรคแทรกซ้อน ได้แก่
  •  อาเจียนเป็นเลือดดำ หรือแดง หรือถ่ายดำ เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น
  •  ปวดท้องรุนแรง และ ช๊อค เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กทะลุ
  •  ปวดท้องและอาเจียนมาก เนื่องจากการอุดต้นของกระเพาะอาหาร
 อาการอื่นที่พบได้
  • น้ำหนักลด
  • เบื่ออาหาร
  • แน่นท้อง ท้องเฟ้อ
  • คลื่นไส้ อาเจียน  6

วิธีการป้องกันการเกิดโรค
วิธีการรักษาโรคกระเพาะอาหารทำอย่างไร
1. กำจัดต้นเหตุของการเกิดโรค ได้แก่
- กินอาหารให้เป็นเวลา
- งดอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
- งดดื่มเหล้า เบียร์ หรือยาดอง
- งดดื่มน้ำชา กาแฟ
- งดสูบบุหรี่
- งดเว้นการกินยา ที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร
- พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายคลายตึงเครียด

2. การให้ยารักษา โดยกินยาอย่างถูกต้อง คือต้องกินยาให้สม่ำเสมอ กินยาให้ครบตามจำนวน และระยะเวลาที่แพทย์สั่งยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ แผลจึงจะหาย ดังนั้นภายหลังกินยา ถ้าอาการดีขึ้นห้ามหยุดยา ต้องกินยาต่อจนครบ และแพทย์แน่ใจว่าแผลหายแล้ว จึงจะลดยาหรือหยุดยาวได้
3.การผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบัน มียาที่รักษาโรคกระเพาะอาหารอย่างดีจำนวนมากถ้าให้การรักษาที่ถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดสำหรับการผ่าตัดอาจทำให้เป็นกรณีที่เกิดโรคแทรกซ้อน ได้แก่
- เลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก โดยไม่สามารถทำให้หยุดเลือดออกได้
- แผลกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กเกิดการทะลุ
- กระเพาะอาหารมีการอุดตัน
7


สรุป

โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่งสามารถพบเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุของมนุษย์ จึงเปรียบเสมือนดั่งภัยร้ายที่มีความรุนแรงมากหากเราปล่อยทิ้งไว้โดยที่ไม่ใส่ใจละลายกับอาการที่เกิดขึ้น
ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคนั้นมีมาจากหลายสาเหตุอาทิเช่น การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาเลยทำให้มีกรดมากัดกร่อนกระเพาะอาหาร การสูบบุหรี่-ดื่มสุรา รับประทานอาหารที่มีรสจัดเกินไป เป็นต้น สาเหตุต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นนั้น อาจจะเป็นเพียงเรื่องเล็กๆน้อยๆที่เราทุกคนมองข้าม แต่หากร่างกายของเราได้มีอาการดังกล่าวนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่หายขาด จะเป็นๆหายๆ และหากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานอาจถึงขั้นเสียชีวิตก็เป็นได้
 ดังนั้นเราควรใส่ใจกับสุขภาพของเราให้มากๆ หากรู้ตนเองว่าเป็นบุคลที่มีพฤติกรรมหรือมีอาการที่บอกไว้แล้วข้างต้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาแนวทางป้องกันและวิธีรักษาอาการดังกล่าว

ภาคผนวก









http://men.mthai.com/content/1755  เวลา 0:20 . 23/09/11



http://xn--12cl4ejkcb7dryebzcb6sf5j.blogspot.com  เวลา 0:22 .  23/09/11


http://xn--12cl4ejkcb7dryebzcb6sf5j.blogspot.com  เวลา 0:24 .  23/09/11

อ้างอิง

  1. http://www.phyathai.com/phyathai/article_disease_sub01_stomach.php เวลา 18:43 .  11/09/11
  2. http://www.thailabonline.com/sec51peptic.htm  เวลา 21:59 .  13/09/11
  3. http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/GI/pu/peptic_ulcer.htm  เวลา 22:41 .   16/09/11
  4. http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=17  เวลา 23:36 .  22/09/11
  5. http://men.mthai.com/content/1755  เวลา 0:20 . 23/09/11
  6. http://xn--12cl4ejkcb7dryebzcb6sf5j.blogspot.com  เวลา 0:22 .  23/09/11
  7. http://www.ku.ac.th/e-magazine/july46/know/bladder.html   เวลา 0:25 .  23/09/11

โดย นางสาวพิมพ์บุณยากรณ์  ทนหนองแวง ผู้จัดทำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น