วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

นางสาวเบญจวรรณ โคตนุกูล รหัส 5305110015
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

                 นพ.สุรเกียรติอาชานานุภาพได้กล่าวไว้ว่า โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้หญิงแทบจะกล่าวได้ว่าผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ในทุกช่วงของชีวิต นับตั้งแต่เด็กถึงวัยชราโรคนี้สามารถป้องกันและรักษาได้ง่ายๆแต่ถ้าปล่อยให้ลุกลามจนกลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง1

สาเหตุ

 กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบบ่อยในสตรีโดยเฉพาะในช่วงอายุ 20-50ปีทั้งนี้เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชายและอยู่ใกล้กับทวารหนักเชื้อแบคทีเรียบริเวณทวารหนัก (ซึ่งปกติมีอยู่จำนวนมาก)จึงมีโอกาสสูงที่เคลื่อนเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการฟักตัวและอักเสบได้ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ 2 เชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่มักจะเป็นเชื้อโรคที่มีอยู่ในอุจจาระของคนเรา เช่น เชื้ออีโคไล  เคล็บซิลลา สูโดโมแนส เอนเทอโรแบกเตอร์เป็นต้นเชื้อเหล่านี้มักจะแปดเปื้อนอยู่ตรง บริเวณรอบๆ ทวารหนักเนื่องจากการชำระหลังถ่ายอุจจาระไม่ถูกต้องสมบูรณ์เชื้อโรคก็จะแปดเปื้อนต่อผ่านท่อปัสสาวะโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่มีท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้ทวารหนักจึงง่ายที่จะติดเชื้อเข้าไปในท่อปัสสาวะส่วนผู้ชายมีโอกาสติดเชื้อน้อยมาก  เนื่องจากท่อปัสสาวะยาวและอยู่ห่างจากทวารหนักมาก
   เมื่อเชื้อโรคเข้าไปอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ถ้ามีการถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวดก็สามารถขับเอาเชื้อโรคนั้นออกมาได้ ไม่เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะแต่ถ้าอั้นปัสสาวะอยู่นาน เช่น เวลารถติด หรือเดินทางไปต่างจังหวัด (ไม่สามารถเข้าห้องน้ำ หรือ กลัวห้องน้ำสาธารณะไม่สะอาด)หรือนอนกลางคืนแล้วขี้เกียจลุกเข้าห้องน้ำ  หรือหน้าน้ำท่วมไม่กล้าเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนกลัวมีงูเขี้ยวหรือทำอะไรเพลินจนลืมเข้าห้องน้ำ เป็นต้น เชื้อโรคที่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะจึงมีเวลานานพอที่จะแบ่งตัวเจริญแพร่พันธุ์ จนทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ  เกิดอาการขัดเบาขึ้นมาได้ 
 ด้วยเหตุนี้โรคนี้จึงมักพบได้ในผู้หญิงทั่วไปที่ไม่ระมัดระวังในการชำระล้างทวารหนักและชอบอั้นปัสสาวะ
  นอกจากนี้ในคนบางคนยังอาจมีเหตุชักนำให้เกิดโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป (เรียกว่ากลุ่มเสี่ยง)เช่น
           - คนที่เป็นเบาหวานซึ่งร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ มีโอกาสติดเชื้อง่าย ก็อาจเป็นโรคนี้ได้บ่อยถ้าหากพบว่ามีอาการของโรคนี้เกิดขึ้นซ้ำซาก ก็ควรจะตรวจดูว่ามีโรคเบาหวานซ่อนเร้น (ไม่แสดงอาการ) อยู่หรือไม่
           - หญิงตั้งครรภ์อาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้นเนื่องจากศีรษะเด็กในท้องกดดันให้เกิดการคั่งของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ
          - ผู้มีภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะเช่น ต่อมลูกหมากโต (ในคนสูงอายุ) ท่อปัสสาวะตีบ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะผู้ป่วยที่ถ่ายปัสสาวะไม่ได้เนื่องจากเป็นอัมพาต เป็นต้น
           - ผู้ป่วยที่มีการสวนปัสสาวะ หรือมีการคาสายสวนปัสสาวะหรือใช้เครื่องมือแพทย์สอดใส่ท่อปัสสาวะ1
การมีเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะในระยะแต่งงานกันใหม่ๆทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย2อาจมีอาการขัดเบา แบบกระเพาะปัสสาวะอักเสบแพทย์เรียกว่าโรคฮันนีมูน (Honeymoon's cystitis)สาเหตุเกิดจากการฟกช้ำจากการร่วมเพศแล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสสาวะ
  ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อยมาก ถ้าพบมักมีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่นต่อมลูกหมากโต หรือมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะหรือมีความผิดปกติทางโครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ
3

อาการ



จะมีอาการขัดเบา คือถ่ายปัสสาวะกะปริดกะปรอยออกทีละน้อยรู้สึกปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะมักจะต้องเข้าห้องน้ำทุกชั่วโมงหรือชั่วโมงละหลายครั้งมีอาการคล้ายถ่ายไม่สุดอยู่ตลอดเวลา   บางคนอาจมีอาการปวดตรงบริเวณท้องน้อย (หัวหน่าว) ร่วมด้วย   ปัสสาวะมักจะออกใสๆ แต่บางคนอาจขุ่นหรือมีเลือดปน   มักไม่มีไข้ ยกเว้นถ้ามีกรวยไตอักเสบร่วมด้วย จะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่นปวดเอวร่วมด้วยในเด็กเล็กอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนและอาจมีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย    อาการมักเกิดหลังอั้นปัสสาวะนานๆ หรือมีการสวนปัสสาวะ1

อาการแทรกซ้อน

        ส่วนมากมักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง แต่บางรายอาจเป็นๆ หายๆ เรื้อรังซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาเชื้อโรคอาจลุกลามขึ้นไปถึงกรวยไตและเนื้อไตได้ ซึ่งในกรณีเหล่านี้จะพบว่ามีอาการไข้สูงหนาวสั่น ปวดบริเวณบั้นเอว (ปวดหลังทั้งสองข้าง)บางรายมีอาการรุนแรงจนเกิดไตอักเสบและไตวายในผู้ชายเชื้ออาจลุกลามเข้าไปทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบ
3

การดูแลตนเอง

            เมื่อมีอาการขัดเบาซึ่งสงสัยเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบควรปฏิบัติตัวดังนี้
            1. ดื่มน้ำมากๆ วันละ 3 - 4 ลิตร (เฉลี่ยประมาณชั่วโมงละ 1 แก้ว) แล้วถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด  น้ำจะช่วยขับเชื้อโรคออกและช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ
            2. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 – 3 วัน จึงค่อยกินยาปฏิชีวนะการใช้ยาปฏิชีวนะควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน โดยทั่วไปถ้าไม่เคยแพ้ยามักจะแนะนำให้กินยาอะม็อกซีซิลลิน (ขนาด 500 มิลลิกรัม)  หรือยาเม็ดโคไตรม็อกซาโซลวันละ 2 ครั้ง ทุก 12 ชั่วโมง ผู้ใหญ่กินครั้งละ 2 เม็ด เด็กโตครั้งละ เม็ดถ้ารู้สึกดีขึ้น ควรกินให้ครบ 3 วัน เป็นอย่างน้อย
             3. เมื่อรักษาหายแล้ว ต่อไปต้องพยายามอย่าอั้นปัสสาวะเป็นอันขาดมิเช่นนั้นอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบก็จะกลับมาเป็นได้อีก
             4. ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เมื่อมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
                 (1) มีอาการไข้หนองไหล ตกขาว ถ่ายเป็นเลือด หรือกระหายน้ำบ่อยร่วมด้วย
                 (2) ดูแลตัวเอง 2 - 3 วัน แล้วยังไม่ดีขึ้น
                 (3) เป็นๆ หายๆบ่อย
                 (4) มีความวิตกกังวลหรือไม่มั่นใจจะดูแลรักษาตนเอง
                 (5) ผู้ชายทุกคนที่มีอาการขัดเบา แม้ว่าจะเริ่มเป็นครั้งแรก ก็ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุให้แน่ใจ เนื่องจากสรีระของผู้ชายมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบน้อยมากถ้ามีอาการอาจมีโรคอื่นซ่อนเร้นอยู่

การรักษา
           
                แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะพื้นฐาน เช่นอะม็อกซีซิลลิน (amoxycillin)โคไตรม็อกซาโซล  (cotrimoxazole)กิน 3 วัน แต่ถ้าสงสัยมีอาการแพ้ยา หรือดื้อยาเหล่านี้ก็อาจให้ยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่ง ได้แก่  นอร์ฟล็อกซาซิน (norfloxacin)
            ในรายที่เป็นๆ หายๆ บ่อย อาจต้องทำการตรวจพิเศษเช่น การนำปัสสาวะไปเพาะเชื้อ แล้วให้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อที่พบการใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะแล้วแก้ไขตามสาเหตุที่พบตรวจเลือดดูว่าเป็นเบาหวานร่วมด้วยหรือไม่ ถ้าพบก็ให้ยารักษาเบาหวานไปพร้อมกันเป็นต้น

การป้องกัน

            1. พยายามดื่มน้ำให้เพียงพอและอย่าอั้นปัสสาวะควรฝึกถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวดจนเป็นนิสัยเวลาเดินทางไกล ต้องฝึกให้เคยชินที่จะเข้าห้องน้ำนอกบ้าน ถ้ากลัวไม่สะอาดก็ชำระล้างโถส้วมให้สะอาดเสียก่อน เวลาเข้านอน ถ้าไม่สะดวกจะลุกเข้าห้องน้ำควรเตรียมกระโถนไว้ข้างเตียง

             2. หลังถ่ายอุจจาระ ควรชำระทวารหนักให้สะอาดการใช้กระดาษชำระควรเช็ดจากข้างหน้าไปข้างหลังจนสะอาดเพื่อป้องกันมิให้นำเชื้อโรคจากบริเวณ
ทวารหนักแปดเปื้อนเข้าท่อปัสสาวะ
1
             3. หมั่นรักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอด ท่อปัสสาวะและทวารหนัก
             4.  ผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบบ่อยๆ เรื้อรัง ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุแอบแฝงอื่นๆเช่น นิ่ว กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติจากระบบประสาทควบคุมหรือมีการอุดตันในกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบมีผลร้ายแรงหรือไม่ถ้ารักษาให้หายขาดจะไม่มีผลร้ายแรง ส่วนรายที่ไม่หายขาดนั้นเชื้อแบคทีเรียบางชนิดอาจมีผลทำให้การอักเสบลุกลามไปถึงส่วนใดก็จะทำให้เกิดการอักเสบได้ดังนั้นหลังรับประทานยาครบแล้ว จึงควรตรวจปัสสาวะซ้ำอีกครั้ง2

ผลไม้และสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

แครนเบอร์รี่Cranberry

แครนเบอร์รี่คือหนึ่งในผลไม้มหัศจรรย์ช่วยต้านการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจากงานวิจัยล่าสุดพบว่าช่วยป้องกันโรคเหงือกและแผลในช่องท้องได้ผลงานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดระบุว่า การดื่มน้ำแครนเบอร์รี่วันละ 300 มิลลิลิตร จะช่วยลดจำนวนแบคทีเรียในปัสสาวะลงได้แครนเบอร์รี่เป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียจึงมีสรรพคุณในการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
 ในแครนเบอร์รี่มีสารหลายชนิดที่ช่วยหยุดการเกาะตัวของแบคทีเรียที่บริเวณผนังทางเดินปัสสาวะคนที่เป็นโรคนี้ให้ดื่มน้ำแครนเบอร์รี่เข้มข้น ไม่มีน้ำตาลแก้วละ 300 มิลลิลิตรทุกวัน จะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ได้อีก โดยลักษณะของแครนเบอร์รี่ที่ให้ผลทางการป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพอาจะจะอยู่ในรูปของน้ำแครนเบอร์รี่หรือในรูปแคปซูลจากการศึกษาในกลุ่มของผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์กับการรักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะพบว่าสามารถลดอัตราการติดเชื้อได้ถึง 50%  หรือรับประทานอาหารเสริมที่มีสารสกัดจากแครนเบอร์รี่วันละ 800 มิลลิกรัมก็จะช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายแข็งแรงช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากอากาศหนาวเนื่องจากแครนเบอร์รี่มีวิตามินซีสูงจึงช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่มากับอากาศหนาวได้ นอกจากนี้วิตามินซีในแครนเบอร์รี่ยังช่วยให้ผิวพรรณชุ่มชื่นจึงเหมาะที่จะนำไปทำเป็นลิปมันเพื่อป้องกันริมฝีปากแห้งแตกในช่วงหน้าหนาวด้วย สารสกัดจากผลเบอร์รี่อย่างแครนเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่และแบล็กเบอร์รี่นั้นอุดมไปด้วยวิตามินซีและสารฟลาโวนอยด์ที่ชื่อแอนโธไซยานิดินส์ (Anthocyanidins) สามารถเสริมสร้างและฟื้นฟูคอลลาเจนได้และจากการศึกษาพบว่าสารในแครนเบอร์รี่ยังงช่วยต่อต้านอาการป่วยเรื้อรังของสมองอย่างอาการความจำ
               
 ในวงการแพทย์ได้ยอมรับกันอย่างกว้างขวางแล้วว่าแครนเบอร์รี่ไม่ว่าจะเป็นในรูปของน้ำผลไม้ แคปซูล ชงดื่ม รวมถึงการนำมาทำอาหาร  แยมหรือแม้แต่ น้ำแครนเบอร์รี่หรือในปัจจุบันมีการผลิตมาให้อยู่ในรูปของอาหารเสริมแบบแคปซูล-ซอฟเจลต่างก็ให้ประสิทธิภาพในการรักษาและป้องกันโรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะและอวัยวะภายในช่องท้องของสตรีสตรีที่มักประสบปัญหาการอั้นปัสสาวะและเกิดการอักเสบขื้นภายในเมื่อได้รับประทานแครนเบอรี่อย่างน้อยเพียง 2 วัน ก็จะเห็นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นจากการวิจัยใหม่ยังยกให้แครนเบอร์รี่เป็นตัวการสำคัญในการยับยั้งและรักษาการเกิดก้อนหินในไต ช่วยลดกรดไขมันในเส้นเลือด (ไขมันเลว)ช่วยให้ร่างกายสามารถคืนสู่ปกติได้หลังจากอาการชักและสำคัญกว่านั้นคือช่วยในด้านการป้องกันมะเร็ง cranberryไม่ใช่ยาแต่เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติซึ่งมาจากผลแครนเบอร์รี่ที่ปลูกในแถบอเมริกาเหนือจึงสามารถรับปะทานได้โดยไม่มีผลข้างเคียงใดๆ  ผล
รักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อ ในท่อปัสสาวะ  ขจัดกลิ่นในปัสสสาวะ (ช่วยให้อวัยวะเพศสะอาด)  รักษาและป้องกันเกี่ยวกับโรคที่มาจากเชื้อแบคทีเรียในผลแครนเบอร์รี่ประกอบด้วยสารแอนตี้ออกซิเดนซ์จำนวนมากจึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งยังช่วยให้ผิวพรรณเกลี้ยงเกลา
สรรพคุณ และประโยชน์ของแครนเบอร์รี่
1.ช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ
2.ช่วยลดจำนวนแบคทีเรียในปัสสาวะลง
3.มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
4.กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
5.ช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่มากับอากาศหนาว
6.วิตามินซีในแครนเบอร์รี่ยังช่วยให้ผิวพรรณชุ่มชื่น
7.ป้องกันริมฝีปากแห้งแตกในช่วงหน้าหนาว
8.สามารถเสริมสร้างและฟื้นฟูคอลลาเจน
9.แครนเบอร์รี่ยังงช่วยต่อต้านอาการป่วยเรื้อรังของสมองอย่างอาการความจำ
10.ช่วยป้องกันโรคเหงือก
11.แผลในช่องท้อง
12.การยับยั้งและรักษาการเกิดก้อนหิน ในไต
13.ช่วยในด้านการป้องกันมะเร็ง
14.ช่วยลดกรดไขมันในเส้นเลือด
15.ช่วยลดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อในท่อปัสสาวะ
16.ขจัดกลิ่นในปัสสสาวะ (ช่วยให้อวัยวะเพศสะอาด)
17.เป็นตัวยับยั้งเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E.coli)4

กระเจี๊ยบแดงพืชสมุนไพรรักษาอาการขัดเบา-ปัสสาวะไม่ค่อยออก(Urinary System)

อาการขัดเบาคือลักษณะอาการที่ปัสสาวะไม่ค่อยออกปัสสาวะแบบกะปริบกะปรอยรู้สึกเหมือนปัสสาวะไม่สุดอาการขัดเบามีสาเหตุจากหลายประการเช่น โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคนิ่วต่อมลูกหมากโต โรคหนองในหรือดื่มน้ำน้อย ฯลฯ ทำให้การปัสสาวะเป็นไปอย่างยากลำบากคนที่เป็นโรคขัดเบาจะปัสสาวะบ่อยและแต่ละครั้งที่ปัสสาวะจะมีน้ำปัสสาวะออก มาน้อยที่แย่ไปกว่านั้นคือปวดอยากจะฉี่แต่ฉี่ไม่ค่อยออก(ไม่ได้ดั่งใจเลย)โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะบางโรคจะมีอาการปวดเสียดท้องน้อยหรือปัสสาวะขุ่นแดงหรือปัสสาวะขุ่นขาวร่วมด้วย5

ต้นทองกวาว


สำหรับสรรพคุณด้านพืชสมุนไพร ได้แก่
ยางใช้รับประทานแก้ท้องร่วงเลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ขับพยาธิ
ใบใช้ตำพอกแก้ฝีและสิว ถอนพิษ แก้ปวด แก้ท้องขึ้น แก้ริดสีดวง ขับพยาธิ
ดอกรับประทานถอนพิษได้ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ ลดความกำหนัด ขับพยาธิใช้หยอดตาแก้ตาแดง ปวดเคืองตา ตาแฉะ ตามัว
เมล็ดบดให้ละเอียดผสมน้ำมะนาวใช้ทาแก้ผิวหนังเป็นผื่นแดง อักเสบคันและแสบร้อน (ข้อควรระวัง พบสารในเมล็ดออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนมีผลเสียต่อสตรีที่กำลังตั้งครรภ์)
แก่นทาแก้ปวดฟัน
รากประคบบริเวณที่เป็นตะคริว ขับพยาธิ
6
เสาวรส
คุณประโยชน์ของเสาวรสมีวิตามินเอสูงและสารแคโรทีนอยด์จากการศึกษาพบว่าวิตามินซีของน้ำเสาวรสจะมีมากกว่าที่พบในมะนาว และพบสาร Albumin homologous protein จากเมล็ด สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ แก้อาการนอนไม่หลับลดไขมันในเส้นเลือดและโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ7



สรุป

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ในทุกช่วงของชีวิต นับตั้งแต่เด็กถึงวัยชราโดยเฉพาะผู้หญิงในช่วงอายุ 20-50ปี เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชายและอยู่ใกล้กับทวารหนักเชื้อแบคทีเรียบริเวณทวารหนัก (ซึ่งปกติมีอยู่จำนวนมาก)จึงมีโอกาสสูงที่เคลื่อนเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการฟักตัวและอักเสบได้ โรคกระเพาะปํสสาวะอักเสบนี้อาจมีสาเหตุหลายๆด้าน เช่น การไดรับเชื้ออีโคไล  เคล็บซิลลา สูโดโมแนส เอนเทอโรแบกเตอร์ เป็นต้น และการอักเสบของปัสสาวะยังมีปัจจัยสนับสนุนที่ส่งผลให้เกิดโรคนี้อีก เช่น การกลั้นปัสสาวะ การทำความสะอาดที่ผิดวิธี หรือการใช้ห้องน้ำที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ปัจจัยต่างๆที่ได้กล่าวมานั้นป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้เกิดโรคเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงที่มาจากโรคประตัวเดิมที่ตนเป็นอยู่แล้ว เช่น ผู้มีภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
ดังนั้นเราควรป้องกันตนเองโดยพยายามดื่มน้ำให้เพียงพอใช้ห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะ และอย่ากลั้นปัสสาวะ ฝึกถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวดจนเป็นนิสัยเวลาเดินทางไกล ต้องฝึกให้เคยชินที่จะเข้าห้องน้ำนอกบ้าน  และถ้ามีอาการอักเสบบ่อยๆหรือเรื้อรัง ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุแอบแฝงอื่นๆ


อ้างอิง

1.             นพ.สุรเกียรติอาชานานุภาพแหล่งที่มา:http://www.vcharkarn.com  วันที่4 /11/54 เวลา22.17น.
2.             Mootieแหล่งที่มา :http://www.thaihealth.or.th  วันที่4/11/54 เวลา 22.25น.
3.             โรงพยาบาลพญาไทย แหล่งที่มา :http://www.phyathai.com  วันที่4/11/54เวลา 22.40น.
4.             Boontawee แหล่งที่มา http://boontaweee.blogspot.com  วันที่  4/11/54เวลา  22.31น.
5.             แหล่งที่มา:  thai-herbs-for-goodhealth.blogspot.com วันที่ 7/11/54 เวลา  19.19น.
6.             แหล่งที่มา :http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php วันที่8/11/54 เวลา 18.18 น.
7.             แหล่งที่มา:http://www.rakball.net/overview.php วันที่ 7/11/54 เวลา 19.08น.


โดย นางสาวเบญจวรรณ  โคตนุกูล ผู้จัดทำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น