วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

นางสาวพัชราภรณ์  เมืองทม  รหัส  5305110020

มะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอดเป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ของปอด เช่น เนื้อปอดหลอดลมกลายเป็นเซลล์มะเร็ง โรคมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบบ่อยหากตรวจพบเร็วสามารถรักษาให้หายขาดได้

มะเร็งคืออะไร
ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกายเช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือดมีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้นแต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอกซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant
  • Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่และที่สำคัญไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
  • Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียงที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือดและน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis

อาการของมะเร็งปอด อาการที่พบบ่อยมีดังนี้

  • ไอเป็นมากขึ้นเรื่อย
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • ไอเสมหะมีเลือดปน
  • หายใจเหนื่อย เสียงแหบ<
  • เป็นปอดบวมหรือปอดอักเสบบ่อย
  • หน้าและคอบวม
  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

มะเร็งปอดมีกี่ชนิด เราแบ่งเป็นชนิดใหญ่ๆ 2 ชนิด
1.    non-small cell lung cancer พบบ่อย โตช้ามี 3 ชนิด

                              large cell carcinoma
                                                                                                             adenocarcinoma 
squamous cell carcinoma

2.     Small cell carcinoma หรือที่เรียก oat cell cancer พบน้อยแต่แพร่กระจายเร็ว
การรักษา  non-small cell lung cancer
แพทย์จะเลือกการผ่าตัดและให้รังสีร่วมกับเคมีบำบัดเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
การรักษา  small cell lung cancer
แพทย์จะเลือกให้เคมีรักษาร่วมกับการผ่าตัดและอาจให้รังสีรักษาแม้ว่าจะตรวจไม่พบว่ามีการแพร่กระจาย

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งปอดชนิด Non-small cell
ปอดเป็นอวัยวะที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซและหายใจ
อาการ
1. ไอเรื้อรัง
2. เจ็บหน้าอก
3. หายใจลำบากมีเสียงดัง (Wheezing)
4. ไอมีเลือดปนในเสมหะ
5. เสียงแหบ
6. เบื่ออาหาร น้ำหนักลดอ่อนเพลีย
การตรวจวินิจฉัย
1. ประวัติและการตรวจร่างกาย
2. เอ็กซเรย์ปอด (Chest film)

3. เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)

4. การตรวจด้วยสารเภสัชรังสี (PET scan)
5. การส่องกล้องผ่านทางหลอดลม (Bronchoscope)
6. การเจาะชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัย (Fine needle biopsy)
                 
ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาและการพยากรณ์โรค
1. ระยะของโรคมะเร็ง
2. อายุที่เริ่มเป็น
3. สุขภาพของผู้ป่วย

มะเร็งสามารถกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ 3 วิธี
1. ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงโดยตรง
2. ผ่านทางกระแสเลือด
3. ผ่านทางระบบน้ำเหลือง

ระยะต่าง ๆของมะเร็งปอด
1.ระยะที่ 1 มะเร็งอยู่ในปอดมีขนาดน้อยกว่า 3 เซนติเมตรมีการลุกลามไปยังหลอดลมและเยื่อหุ้มปอดชั้นใน\
2. ระยะที่ 2 มะเร็งอยู่ในปอดมีขนาดมากกว่าหรือเท่ากับ 3 เซนติเมตรมีการลุกลามไปยังเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกและผนังหน้าอกต่อมน้ำเหลืองในช่องอก
3. ระยะที่ 3 มะเร็งขนาดต่าง ๆมีการกระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองทรวงอกด้านตรงข้าม เยื่อหุ้มปอดหลอดลมคอ 4. ระยะที่ 4 มีการแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ ตับ ไต ต่อมหมวกไต สมองกระดูก

การรักษา
1. การผ่าตัดมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับตำแหน่งและระยะของโรค ดังรูป
- ตัดปอดบางส่วน (Wedge resection)

- ตัดปอดทั้งกลีบ (Lobectomy)

- ตัดปอดทั้งข้าง (Pneumonectomy)

2. การรักษาด้วยรังสีรักษา
3. การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

ปัจจัยเสี่ยง
1.การสูบบุหรี่โดยตรง  การอยู่ร่วมกับผู้สูบบุหรี่
บุหรี่จากการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ทั่วโลกยืนยันว่ามะเร็งปอดเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสูบบุหรี่ ทั้งผู้สูบเอง และผู้ได้รับควันบุหรี่

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปอด
ผู้สูบบุหรี่โดยเฉลี่ยมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 12 เท่า
ผู้ที่สูบบุหรี่นานไม่เกิน 20 ปีจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึง 9 เท่า
ผู้ที่สูบบุหรี่นานระหว่าง 21-40 ปีมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึง 30 เท่า
ผู้ที่สูบบุหรี่นานระหว่าง 41-60 ปีมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึง 47 เท่า
ผู้ที่เป็นมะเร็งปอดร้อยละ 80 จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี

2. เคยสัมผัสรังสีทางหน้าอกหรือเต้านม

3. แอสเบสตอส (Asbestos = สารใยหิน)
ผู้ที่เสี่ยง ได้แก่ผู้ที่ทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีการใช้แอสเบสตอส เป็นส่วนประกอบ
ระยะเวลาที่สัมผัสฝุ่นแอสเบสตอสจนเป็นมะเร็งปอด อาจใช้เวลา 15-35 ปี
ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ทำงานกับฝุ่นแร่แอสเบสตอส เสี่ยงต่อมะเร็งปอด มากกว่าคนทั่วไป 5 เท่า
4.เรดอนเป็นก๊าซกัมมันรังสีไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสเกิดจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนี่ยมในหินและดิน กระจายอยู่ในอากาศและน้ำใต้ดินในที่ๆอากาศไม่ถ่ายเท เช่น ในเหมืองใต้ดิน อาจมีปริมาณมากทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดได้
5.มลภาวะในอากาศได้แก่ควันพิษจากรถยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

การป้องกัน
1.เลิกสูบบุหรี่
2.หลีกเลี่ยงการได้รับมลพิษในสิ่งแวดล้อม
3.รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น และอาหารที่มีวตามินซีวิตามินอี รวมทั้งเซเลเนียม เช่น ข้าวซ้อม4.มือ รำข้าว และออกกำลังกายสม่ำเสมออาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด
การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การดื่มสุราอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดได้

อ้างอิง
              http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/cancer/lungcancer.htm  00.04  น. 19/08/54
                http://www.chulacancer.net/newpage/information/lung_cancer.html   00.08 น. 19/08/54

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น