วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

นางสาวพัชราภรณ์  เมืองทม  รหัส  5305110020

มะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอดเป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ของปอด เช่น เนื้อปอดหลอดลมกลายเป็นเซลล์มะเร็ง โรคมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบบ่อยหากตรวจพบเร็วสามารถรักษาให้หายขาดได้

มะเร็งคืออะไร
ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกายเช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือดมีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้นแต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอกซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant
  • Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่และที่สำคัญไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
  • Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียงที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือดและน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis

อาการของมะเร็งปอด อาการที่พบบ่อยมีดังนี้

  • ไอเป็นมากขึ้นเรื่อย
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • ไอเสมหะมีเลือดปน
  • หายใจเหนื่อย เสียงแหบ<
  • เป็นปอดบวมหรือปอดอักเสบบ่อย
  • หน้าและคอบวม
  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

มะเร็งปอดมีกี่ชนิด เราแบ่งเป็นชนิดใหญ่ๆ 2 ชนิด
1.    non-small cell lung cancer พบบ่อย โตช้ามี 3 ชนิด

                              large cell carcinoma
                                                                                                             adenocarcinoma 
squamous cell carcinoma

2.     Small cell carcinoma หรือที่เรียก oat cell cancer พบน้อยแต่แพร่กระจายเร็ว
การรักษา  non-small cell lung cancer
แพทย์จะเลือกการผ่าตัดและให้รังสีร่วมกับเคมีบำบัดเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
การรักษา  small cell lung cancer
แพทย์จะเลือกให้เคมีรักษาร่วมกับการผ่าตัดและอาจให้รังสีรักษาแม้ว่าจะตรวจไม่พบว่ามีการแพร่กระจาย

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งปอดชนิด Non-small cell
ปอดเป็นอวัยวะที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซและหายใจ
อาการ
1. ไอเรื้อรัง
2. เจ็บหน้าอก
3. หายใจลำบากมีเสียงดัง (Wheezing)
4. ไอมีเลือดปนในเสมหะ
5. เสียงแหบ
6. เบื่ออาหาร น้ำหนักลดอ่อนเพลีย
การตรวจวินิจฉัย
1. ประวัติและการตรวจร่างกาย
2. เอ็กซเรย์ปอด (Chest film)

3. เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)

4. การตรวจด้วยสารเภสัชรังสี (PET scan)
5. การส่องกล้องผ่านทางหลอดลม (Bronchoscope)
6. การเจาะชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัย (Fine needle biopsy)
                 
ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาและการพยากรณ์โรค
1. ระยะของโรคมะเร็ง
2. อายุที่เริ่มเป็น
3. สุขภาพของผู้ป่วย

มะเร็งสามารถกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ 3 วิธี
1. ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงโดยตรง
2. ผ่านทางกระแสเลือด
3. ผ่านทางระบบน้ำเหลือง

ระยะต่าง ๆของมะเร็งปอด
1.ระยะที่ 1 มะเร็งอยู่ในปอดมีขนาดน้อยกว่า 3 เซนติเมตรมีการลุกลามไปยังหลอดลมและเยื่อหุ้มปอดชั้นใน\
2. ระยะที่ 2 มะเร็งอยู่ในปอดมีขนาดมากกว่าหรือเท่ากับ 3 เซนติเมตรมีการลุกลามไปยังเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกและผนังหน้าอกต่อมน้ำเหลืองในช่องอก
3. ระยะที่ 3 มะเร็งขนาดต่าง ๆมีการกระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองทรวงอกด้านตรงข้าม เยื่อหุ้มปอดหลอดลมคอ 4. ระยะที่ 4 มีการแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ ตับ ไต ต่อมหมวกไต สมองกระดูก

การรักษา
1. การผ่าตัดมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับตำแหน่งและระยะของโรค ดังรูป
- ตัดปอดบางส่วน (Wedge resection)

- ตัดปอดทั้งกลีบ (Lobectomy)

- ตัดปอดทั้งข้าง (Pneumonectomy)

2. การรักษาด้วยรังสีรักษา
3. การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

ปัจจัยเสี่ยง
1.การสูบบุหรี่โดยตรง  การอยู่ร่วมกับผู้สูบบุหรี่
บุหรี่จากการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ทั่วโลกยืนยันว่ามะเร็งปอดเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสูบบุหรี่ ทั้งผู้สูบเอง และผู้ได้รับควันบุหรี่

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปอด
ผู้สูบบุหรี่โดยเฉลี่ยมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 12 เท่า
ผู้ที่สูบบุหรี่นานไม่เกิน 20 ปีจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึง 9 เท่า
ผู้ที่สูบบุหรี่นานระหว่าง 21-40 ปีมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึง 30 เท่า
ผู้ที่สูบบุหรี่นานระหว่าง 41-60 ปีมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึง 47 เท่า
ผู้ที่เป็นมะเร็งปอดร้อยละ 80 จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี

2. เคยสัมผัสรังสีทางหน้าอกหรือเต้านม

3. แอสเบสตอส (Asbestos = สารใยหิน)
ผู้ที่เสี่ยง ได้แก่ผู้ที่ทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีการใช้แอสเบสตอส เป็นส่วนประกอบ
ระยะเวลาที่สัมผัสฝุ่นแอสเบสตอสจนเป็นมะเร็งปอด อาจใช้เวลา 15-35 ปี
ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ทำงานกับฝุ่นแร่แอสเบสตอส เสี่ยงต่อมะเร็งปอด มากกว่าคนทั่วไป 5 เท่า
4.เรดอนเป็นก๊าซกัมมันรังสีไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสเกิดจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนี่ยมในหินและดิน กระจายอยู่ในอากาศและน้ำใต้ดินในที่ๆอากาศไม่ถ่ายเท เช่น ในเหมืองใต้ดิน อาจมีปริมาณมากทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดได้
5.มลภาวะในอากาศได้แก่ควันพิษจากรถยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

การป้องกัน
1.เลิกสูบบุหรี่
2.หลีกเลี่ยงการได้รับมลพิษในสิ่งแวดล้อม
3.รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น และอาหารที่มีวตามินซีวิตามินอี รวมทั้งเซเลเนียม เช่น ข้าวซ้อม4.มือ รำข้าว และออกกำลังกายสม่ำเสมออาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด
การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การดื่มสุราอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดได้

อ้างอิง
              http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/cancer/lungcancer.htm  00.04  น. 19/08/54
                http://www.chulacancer.net/newpage/information/lung_cancer.html   00.08 น. 19/08/54

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มะเร็งปากมดลูก


โรคมะเร็งปากมดลูก


มะเร็งปากมดลูกคืออะไร (http://www.chulacancer.net)

          มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อของปากมดลูก ปากมดลูกเป็นส่วนล่างของมดลูก ซึ่งมดลูกเป็นอวัยวะรูปลูกแพร์คว่ำที่มีช่องว่างอยู่ข้างใน ช่องข้างในมดลูกนั้นเป็นบริเวณที่อยู่ของเด็กทารกในขณะตั้งครรภ์ ปากมดลูกนั้นมีรูตรงกลางซึ่งเชื่อมระหว่างช่องว่างข้างในมดลูกกับช่องคลอดมะเร็งปากมดลูกตามปกติจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ โดยก่อนหน้าที่จะเกิดมะเร็งปากมดลูกนั้น เซลล์ของปากมดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ เรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า ดีสเพลเชีย (Dysplasia) หลังจากนั้นเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์มะเร็งนี้จะโตขึ้นและขยายลึกลงสู่ปากมดลูกและบริเวณรอบๆปากมดลูก

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก (http://www.rtcog.or.th)

1. ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายหญิง
- การมีคู่นอนหลายคน ความเสี่ยงสูงขึ้นตามจำนวนคู่นอนที่เพิ่มขึ้น
- การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อยกว่า 17 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการกลายรูปของเซลล์ปากมดลูกมาก ช่วงนี้จะมีความไวต่อสารก่อมะเร็งสูงมากโดยเฉพาะเชื้อเอชพีวี
- การตั้งครรภ์และการคลอดลูก จำนวนครั้งของการคลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง มีความเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น
- มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริม ซิฟิลิส และหนองใน เป็นต้น
- การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ๆ ถ้านานกว่า 5 ปี และ 10 ปี จะมีความเสี่ยงสูง
- ไม่เคยได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมาก่อน

2. ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายชาย
          เนื่องจากส่วนใหญ่ของการติดเชื้อเอชพีวีบริเวณอวัยวะเพศได้มาจากการมีเพศสัมพันธ์ จึง กล่าวได้ว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีเชื้อเอชพีวี (ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ชายจะไม่มีอาการหรือตรวจไม่พบเชื้อ) แม้เพียงครั้งเดียวก็มีโอกาสติดเชื้อเอชพีวีและเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายชายได้แก่
- สตรีที่มีสามีเป็นมะเร็งองคชาติ
- สตรีที่แต่งงานกับชายที่เคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก
- ผู้ชายที่เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ผู้ชายที่มีประสบการณ์ทางเพศตั้งแต่อายุน้อย
- ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน
3. ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ
- การสูบบุหรี่
- ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น โรคเอดส์ และการได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
- สตรีที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ

อาการของมะเร็งปากมดลูก

1. การตกเลือดทางช่องคลอด เป็นอาการที่พบได้มากที่สุด ลักษณะเลือดที่ออกอาจจะเป็น
- เลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน
- เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
- มีน้ำออกปนเลือด
- ตกขาวปนเลือด
- เลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน
2. อาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลามมากขึ้น ได้แก่
- ขาบวม
- ปวดหลังรุนแรง ปวดก้นกบและต้นขา
- ปัสสาวะเป็นเลือด
- ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด

ระยะของมะเร็งปากมดลูก (ศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลสงขลานครินทร์)
1. ระยะก่อนมะเร็งหรือระยะก่อนลุกลาม มะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะก่อนมะเร็งด้วยการทำแปปสเมียร์ โดยการเก็บเอาเซลล์เยื่อบุบริเวณปากมดลูกไปตรวจหาเซลล์มะเร็งโดยการตรวจภายใน ซึ่งการรักษาจะได้ผลดีมากหากเป็นมะเร็งที่ตรวจพบในระยะแรก มะเร็งในระยะนี้ยังอยู่ภายในช่องเยื่อบุผิวปากมดลูก ไม่ลุกลามเข้าไปในเนื้อปากมดลูก ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติเลย
2. ระยะลุกลาม แบ่งออกเป็น 4 ระยะย่อย คือ
- ระยะที่ 1 มะเร็งลุกลามอยู่ภายในปากมดลูก
- ระยะที่ 2 มะเร็งลุกลามไปที่เนื้อเยื่อข้างปากมดลูก และ / หรือผนังช่องคลอดส่วน
บน
- ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามไปที่ด้านข้างของเชิงกราน และ / หรือผนังช่องคลอดส่วนล่าง หรือกดท่อไตจนเกิดภาวะไตบวมน้ำ
- ระยะที่ 4 มะเร็งลุกลามไปที่กระเพาะปัสสาวะ ไส้ตรง หรืออวัยวะอื่น ๆ เช่น ปอด กระดูก และต่อมน้ำเหลืองนอกเชิงกราน เป็นต้

การตรวจเพื่อการวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก (www.chulacancer.net)

- การตรวจภายใน (Pelvic exam) เป็นการตรวจช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ และทวารหนัก โดยการใช้นิ้วมือหนึ่งหรือสองนิ้วของมือข้างหนึ่งใส่ถุงมือและหล่อลื่นด้วยน้ำยาหล่อลื่นสอดเข้าในช่องคลอด และวางมืออีกข้างหนึ่งที่บริเวณท้องน้อยของผู้ป่วยเพื่อจะได้รู้ถึงขนาด รูปร่าง และตำแหน่งของมดลูกและรังไข่และยังมีการตรวจอีกอย่างหนึ่ง คือการใช้เครื่องมือซึ่งเรียกว่า สเปคคูลัม (Speculum) ซึ่งเป็นเหล็กที่มีรูปร่างคล้ายปากเป็ด สอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อดูความผิดปกติของช่องคลอดและปากมดลูก โดยอาจจะทำการตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก โดยการทำแป๊บในขณะใส่เครื่องมือนี้ด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการตรวจทางทวารหนัก โดยการใช้นิ้วมือซึ่งใส่ถุงมือและหล่อลื่นแล้ว สอดเข้าในทวารหนัก เพื่อตรวจหาก้อนหรือบริเวณที่ผิดปกติได้
- การตรวจคอลโปสโคป ( Colposcopy ) เป็นการตรวจปากมดลูกและช่องคลอดโดยการส่องกล้องขยาย ตรวจหาบริเวณที่ผิดปกติจากนั้นอาจจะมีการเก็บเนื้อเยื่อไปตรวจโดยการใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายช้อนเล็กๆขูดบริเวณที่ผิดปกติ แล้วนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อหาความผิดปกติต่อไป
- การขูดเนื้อเยื่อบริเวณด้านในของปากมดลูก (Endocervical curettage) เป็นการใช้อุปกรณ์ซึ่งมีลักษณะคล้ายช้อนอันเล็กๆ ขูดเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่อยู่ในรูของปากมดลูก จากนั้นเนื้อเยื่อตัวอย่างที่ได้จากการขูดออกมานั้นจะถูกส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อหาเซลล์มะเร็งการขูดมดลูกนี้ ในบางครั้งอาจทำพร้อมกันกับการตรวจคอลโปสโคปด้วย
- การตัดชิ้นเนื้อ ( Biopsy ) เป็นการตัดชิ้นส่วนเล็กๆของเนื้อเยื่อออกมาจากปากมดลูกที่ผิดปกติ จากนั้นพยาธิแพทย์จะนำมาตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็ง โดยปกติจะทำการตัดชิ้นเนื้อเมื่อมีการตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูกโดยการทำแป๊บแล้วผิดปกติ การตัดชิ้นเนื้อในบางรายอาจทำเป็นการตัดชิ้นเนื้อรูปโคน ( Cone biopsy ) ซึ่งจะได้ชิ้นเนื้อจากปากมดลูกขนาดใหญ่กว่า


การรักษามะเร็งปากมดลูก

          ทางเลือกในการรักษามะเร็งปากมดลูกนั้นมีแตกต่างกันหลายวิธี บางวิธีเป็นที่ใช้กันทั่วไป และยอมรับจากสถาบันทั่วโลกและบางวิธียังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาทดลอง ซึ่งการศึกษาทดลองนั้นมีส่วนช่วยในการปรับปรุงการรักษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หรือเพื่อให้พบวิธีการรักษาแบบใหม่เมื่อการศึกษาทดลองแสดงว่าการรักษาใหม่ดีกว่าการรักษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน การรักษาใหม่นั้นอาจจะกลายเป็นการรักษาที่ยอมรับและใช้เป็นมาตรฐานการรักษาในเวลาต่อมา ถ้าเป็นไปได้ ผู้ป่วยน่าจะตัดสินใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทดลองเพื่อการพัฒนาทางการแพทย์ในบางการศึกษาทดลองนั้นจะเปิดรับเฉพาะผู้ป่วยที่ยังไม่เริ่มการรักษาเท่านั้น


การรักษาที่เป็นมาตรฐานมี 3 วิธี คือ


1. การผ่าตัด
          การผ่าตัด คือการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกไปจากร่างกาย การผ่าตัดในมะเร็งปากมดลูกมีหลายวิธี ดังนี้
          1) การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปโคน ( Conization ) เป็นการตัดส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อของปากมดลูกและช่องภายในปากมดลูกออกเป็นรูปโคน หลังจากนั้นพยาธิแพทย์จะนำเนื้อเยื่อที่ได้มาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อหาเซลล์มะเร็ง การผ่าตัดออกเป็นรูปโคนนี้อาจ จะใช้ในการวินิจฉัยหรือการรักษามะเร็งปากมดลูกก็ได้ การผ่าตัดวิธีนี้อาจะเรียกว่าการตัดชิ้นเนื้อรูปโคน (Cone biopsy)
          2) การผ่าตัดมดลูก ( Total hysterectomy ) เป็นการผ่าตัดมดลูกรวมทั้งปากมดลูกออกจากร่างกาย ถ้ามดลูกและปากมดลูก ถูกตัดออกโดยใช้เครื่องมือผ่าตัดผ่านทางช่องคลอดจะเรียกการผ่าตัดนั้น ว่าการผ่าตัดมดลูกผ่านช่องคลอด (Vaginal hysterectomy)ถ้าผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกผ่านทางหน้าท้องซึ่งจะมีรอยแผลที่หน้าท้องขนาดใหญ่ จะเรียกการผ่าตัดนั้นว่า การผ่าตัดมดลูกผ่านหน้าท้อง (Total abdominal hysterectomy) แต่ถ้าผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกโดยใช้กล้องเล็กๆผ่านทางรอยผ่าตัดเล็กๆ ที่หน้าท้อง จะเรียกการผ่าตัดนี้ว่า การผ่าตัดมดลูกโดยการส่องกล้อง (Total laparoscopic hysterectomy)
          3) การผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้าง ( Bilateral salpingo-oophorectomy) เป็นการผ่าตัดเพื่อตัดเอารังไข่และท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้างออก
          4) การผ่าตัดมดลูกแบบถอนราก ( Radical hysterectomy ) เป็นการผ่าตัดเพื่อตัด มดลูก ปากมดลูก และส่วนหนึ่งของช่องคลอดออกจากร่างกาย นอกจากนี้รังไข่ ท่อนำไข่ หรือต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ๆ อาจถูกผ่าตัดออกไปด้วยเช่นกัน
          5) การผ่าตัดอวัยวะในอุ้งเชิงกรานแบบกว้าง (Pelvic exenteration) เป็นการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง ทวารหนัก และกระเพาะปัสสาวะออก การผ่าตัดนี้ในผู้หญิงนั้นจะตัดเอาปากมดลูก ช่องคลอด รังไข่ และต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ๆออกไปด้วยเช่นกัน ช่องทางที่จะใช้เพื่อขับถ่ายทั้งปัสสาวะและอุจจาระจะถูกสร้างขึ้นเพื่อนำของเสียออกจากร่างกายไปยังถุงเก็บ นอกจากนี้หลังจากการผ่าตัดนี้อาจมีการผ่าตัดเพื่อจะสร้างช่องคลอดขึ้นมาใหม่ด้วย
          6) การผ่าตัดปากมดลูกโดยใช้ความเย็น ( Cryosurgery ) เป็นการรักษาที่ใช้อุปกรณ์ที่แช่แข็งนำไปทำลายเนื้อเยื่อที่ผิดปกติใช้ในระยะที่พบว่ามีเซลล์ผิดปกติแต่ยังไม่เป็นมะเร็ง ( Carcinoma in situ )
          7) การผ่าตัดโดยใช้เลเซอร์ ( Laser surgery ) เป็นการผ่าตัดที่ใช้แสงเลเซอร์เป็นมีด เพื่อทำให้มีเลือดออกน้อย หรือใช้ตัดเอาเฉพาะส่วนพื้นผิวของก้อน
          8) การผ่าตัดปากมดลูกโดยใช้วงขดลวดที่มีกระแสไฟฟ้า ( LEEP ) เป็นการรักษาที่ใช้วงของลวดเส้นเล็กๆที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านอยู่ภายในเป็นเหมือนมีด ใช้ตัดส่วนของเนื้อเยื่อที่ผิดปกติหรือเนื้อเยื่อมะเร็งออก
2. การรักษาโดยการฉายรังสี
          การรักษาโดยการฉายรังสี เป็นการรักษามะเร็งที่ใช้รังสีเอ็กซเรย์พลังงานสูง หรือรังสีชนิดอื่นๆ เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งหรือทำให้หยุดการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง การฉายรังสีมี 2 ชนิด ได้แก่
          1) การฉายรังสีจากภายนอก ( External radiation therapy ) เป็นการใช้เครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกายส่งรังสีเข้าในร่างกายผ่านก้อนมะเร็ง
          2) การฉายรังสีจากภายใน หรือ การใส่แร่ ( Internal radiation therapy ) เป็นการใช้สารที่ปล่อยรังสีได้ซึ่งอยู่ภายในเข็ม ก้อนเล็กๆ ขดลวด หรือท่อ ใส่เข้าไปภายในหรือใกล้ๆบริเวณของก้อนมะเร็งโดยตรงการเลือกวิธีที่ใช้ในการฉายรังสีนั้นขึ้นกับชนิดและระยะของมะเร็งที่จะรักษา
3. การรักษาโดยการใช้ยาเคมีบำบัด
          การรักษาโดยใช้ยาเคมีบำบัดเป็นการรักษามะเร็งที่ใช้ยาในการหยุดการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง หรือทั้งทำลายเซลล์มะเร็งและหยุดการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง  เมื่อรับประทานยาเคมีบำบัดหรือฉีดยาเคมีบำบัดเข้าในหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ ยาจะเข้าไปในกระแสเลือดและไปมีผลกับเซลล์มะเร็งทั่วร่างกาย (Systemic chemotherapy)


การป้องกันมะเร็งปากมดลูก (รองศาสตราจารย์นายแพทย์จตุพล ศรีสมบูรณ์)


การป้องกันมะเร็งปากมดลูก แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. การป้องกันปฐมภูมิ คือ การป้องกันโดยการหลีกเลี่ยงการได้รับสารก่อมะเร็ง การลดหรือขจัดสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งปากมดลูก หรือการทำให้ร่างกายสามารถต่อต้านสาร
ก่อมะเร็ง การป้องกันปฐมภูมิสำหรับมะเร็งปากมดลูกได้แก่
- การหลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน
- การหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย
- การคุมกำเนิดโดยใช้ถุงยางอนามัย
- การหลีกเลี่ยงการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะการติดเชื้อเอชพีวี
- การงดสูบบุหรี่
- การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี จะมีการนำมาใช้ในอนาคต
2. การป้องกันทุติยภูมิ คือ การค้นหามะเร็งในระยะแรกเริ่มซึ่งการรักษาได้ผลดีสำหรับมะเร็งปากมดลูกแล้ว สามารถตรวจคัดกรองได้โดย
2.1 การทดสอบแพปหรือแพปสเมียร์ ซึ่งมี 2 วิธีคือ
- แบบสามัญ
- แบบแผ่นบาง
2.2 การตรวจหาเชื้อเอชพีวี ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันสามารถตรวจหาเชื้อชนิดก่อมะเร็งได้แล้ว แต่ยังมีค่าใช้จ่ายสูงอยู่ในประเทศไทย
3. การป้องกันตติยภูมิ คือ การรักษาโรคมะเร็ง มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ป่วยหายจากโรคมะเร็ง มีชีวิตรอดยาวนาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี


สรุป


          สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV ชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ มะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะก่อนมะเร็งโดยการทะแพปสเมียร์ ซึ่งการรักษาได้ผลดีมาก อาการที่พบมากที่สุดของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามคือ การตกเลือดทางช่องท้อง วิธีการรักษาขึ้นกับมะเร็งปากมดลูก ในระยะก่อนมะเร็งหรือระยะก่อนลุกลามสามารถรักษาได้หลายวิธีโดยไม่จำเป็นต้องตัดมดลูกออก ในระยะลุกลามสามารถรักษาด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี และเคมีบำบัด มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆและการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุกๆ 1 ปี




วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โรคกระเพาะอาหารและลำไส้

นางสาวพิมพ์บุณยากรณ์  ทนหนองแวง รหัส 5305110061


http://www.ku.ac.th/e-magazine/july46/know/bladder.html


บทนำ

กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะที่อยู่บนระดับลิ้นปี่ ทำหน้าที่เป็นที่พักและย่อยอาหารให้แตกย่อยในเบื้องต้น จากนั้นจึงส่งต่อไปยังลำไส้เล็กเพื่อผ่านกระบวนการย่อยและดูดซึม
โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง  แต่อุบัติการณ์การของโรคนี้ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานจำนวนที่แน่นอน โรคนี้พบได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั่วไป สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยมีรายงานว่าแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นคบได้บ่อยในคนวัยหนุ่มสาว  โดยอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้คือ 35 ปี  และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 4 เท่า ส่วนแผลที่กระเพาะอาหารมักพบในวัยกลางคนขึ้นไป โดยอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้คือ 42 ปี และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 3 เท่า 1
เพราะฉะนั้นโรคกระเพาะอาหารเปรียบเสมือนดั่งภัยเงียบที่คอยบั่นทอนสุขภาพ หากละเลยไม่ให้ความใส่ใจดูแลสังเกตตนเองบ้าง อาจทำให้ได้รับความรุนแรงของโรคจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากพบว่าอาการปวดท้องของตนเองหรือบุคคลใกล้ชิด มีอาการที่ใกล้เคียงกับโรคต่างๆ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้นานนอกจากจะส่งผลให้การรักษาไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควรแล้ว ก็อาจลุกลามกลายเป็นโรคร้ายแรงและอาจสูญเสียชีวิตในที่สุด

ความหมาย

ภาวะที่มีแผลเยื่อบุกระเพาะ และลำไส้ถูกทำลายถึงแม้ว่าจะเรียกว่าโรคกระเพาะ แต่สามารถเป็นได้ทั้งที่กระเพาะและลำไส้ ว่า ถ้าเป็นเฉพาะเยื่อบุกระเพาะเรียก gastritis แต่ถ้าเป็นแผลถึงชั้นลึกmuscularis mucosa เรียก ulcerถ้าแผลอยู่ที่กระเพาะเรียก gastric ulcerถ้าแผลอยู่ที่ลำไส้เล็กเรียกduodenal ulcer โรคกระเพาะพบได้ทุกวัย 2
  คำว่า "โรคกระเพาะ" ตามความหมายของแพทย์  หมายถึง   แผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร (stomach) หรือลำไส้เล็กส่วนต้นหรือดูโอดีนัม (duodenum) ตรงกับคำว่า แผลเพ็ปติก (Peptic ulcer) แต่เนื่องจากเรามักจะวินิจฉัย ผู้ที่มีอาการปวดท้องตรงยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ที่เกิดก่อนหรือหลังกินอาหารว่าเป็น "โรคกระเพาะ" โดยไม่มีการตรวจยืนยันด้วยการส่องกล้องตรวจ หรือเอกซเรย์โดยการกลืนแป้งแบเรียม ดังนั้น จึงมีความหมายครอบคลุมกว้างขวางมากกว่า แผลเพ็ปติกเพียงอย่างเดียว และคงใกล้เคียงกับความหมายของคำว่า "อาหารไม่ย่อย" 3 ซึ่งมีสาเหตุอันหลากหลาย ป็นโรคที่พบได้บ่อยจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตและโรคนี้ก็สามารถพบได้ในคนทุกวัย


สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะมีมากมายแต่เชื่อกันว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง
1.            เชื่อโรค Helicobacter pylori เป็นเชื้อรูปแท่งติดสีน้ำเงิน มีความสามรถอยู่ในสภาวะกรดได้ดีเป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่สำคัญของผู้ป่วยโรคกระเพาะ เชื่อว่าติดต่อโดยการรับประทานอาหาร และน้ำ เชื้อจะทำลายเยื่อบุ และฝังตัวที่กระเพาะอาหาร กรดจากกระเพาะอาหารจะช่วยทำลายเยื่อบุทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
2.             สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งต่อไปนี้กระตุ้นให้กรดหลั่งมาก
  • กระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์
  • การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง
  • ชา กาแฟ และน้ำดื่มที่มี Caffeine จะทำให้กรดหลั่งออกมามาก
  • การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามาก
  •  การกินอาหารไม่เป็นเวลา
  • ภาวะที่มีกรดหลั่งออกมามาก เช่นโรค Zollinger-Ellisson syndrome กรดที่หลั่งออกมามากจะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
3.              มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจาก
  •  การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆโดยเฉพาะสารที่ระคายกระเพาะ เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID แม้วว่าจะให้ยาโดยการฉีดหรืออมใต้ลิ้นก็มีโอกาสเกิดแผลที่กระเพาะ เนื่องจากนี้จะไปกระตุ้นให้เกิด cyclooxigenase II (Cox II) ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะ
  • การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำสมสายชู
  • การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบี้ย ยาดอง
4.            ประวัติเป็นโรคกระเพาะในครอบครัวหากครอบครัวไหนมีโรคกระเพาะ คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระเพาะอาหารสูง  4

อาการของโรคกระเพาะอาหาร
ส่วนใหญ่มีอาการปวดท้องบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่มีประวัติเป็นเรื้อรังมา นาน โดยสุขภาพทั่วไปไม่ทรุดโทรม บางรายมีอาการจุก เสียด แน่น เจ็บแสบหรือร้อน อาการจะสัมพันธ์กับการกิน หรือชนิดของอาหาร เช่น อาจปวดมากตอนหิว หลังอาหาร อาการจะทุเลา แต่ผู้ป่วยบางคนอาการปวดเป็นมากขึ้นหลังอาหาร โดยเฉพาะอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น บางรายอาจมีอาการปวดท้องตอนกลางคืน 5  ลักษณะอาการปวดท้องที่สำคัญ คือ
1. ปวดท้อง
  • ปวดบริเวณลิ้มปี ปวดแบบแสบๆหรือร้อนๆ ปวดเรื้อรังมานาน เป็นๆหายๆเป็นเดือนหรือเป็นปี
  • ปวดสัมพันธ์กับอาหาร เช่น ปวดเวลาหิวหรือท้องว่างเมื่อกินอาหารหรือนม จะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือนมจะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือปวดกลางดึกก็ได้
2. จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน
3. อาการโรคแทรกซ้อน ได้แก่
  •  อาเจียนเป็นเลือดดำ หรือแดง หรือถ่ายดำ เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น
  •  ปวดท้องรุนแรง และ ช๊อค เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กทะลุ
  •  ปวดท้องและอาเจียนมาก เนื่องจากการอุดต้นของกระเพาะอาหาร
 อาการอื่นที่พบได้
  • น้ำหนักลด
  • เบื่ออาหาร
  • แน่นท้อง ท้องเฟ้อ
  • คลื่นไส้ อาเจียน  6

วิธีการป้องกันการเกิดโรค
วิธีการรักษาโรคกระเพาะอาหารทำอย่างไร
1. กำจัดต้นเหตุของการเกิดโรค ได้แก่
- กินอาหารให้เป็นเวลา
- งดอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
- งดดื่มเหล้า เบียร์ หรือยาดอง
- งดดื่มน้ำชา กาแฟ
- งดสูบบุหรี่
- งดเว้นการกินยา ที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร
- พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายคลายตึงเครียด

2. การให้ยารักษา โดยกินยาอย่างถูกต้อง คือต้องกินยาให้สม่ำเสมอ กินยาให้ครบตามจำนวน และระยะเวลาที่แพทย์สั่งยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ แผลจึงจะหาย ดังนั้นภายหลังกินยา ถ้าอาการดีขึ้นห้ามหยุดยา ต้องกินยาต่อจนครบ และแพทย์แน่ใจว่าแผลหายแล้ว จึงจะลดยาหรือหยุดยาวได้
3.การผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบัน มียาที่รักษาโรคกระเพาะอาหารอย่างดีจำนวนมากถ้าให้การรักษาที่ถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดสำหรับการผ่าตัดอาจทำให้เป็นกรณีที่เกิดโรคแทรกซ้อน ได้แก่
- เลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก โดยไม่สามารถทำให้หยุดเลือดออกได้
- แผลกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กเกิดการทะลุ
- กระเพาะอาหารมีการอุดตัน
7


สรุป

โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่งสามารถพบเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุของมนุษย์ จึงเปรียบเสมือนดั่งภัยร้ายที่มีความรุนแรงมากหากเราปล่อยทิ้งไว้โดยที่ไม่ใส่ใจละลายกับอาการที่เกิดขึ้น
ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคนั้นมีมาจากหลายสาเหตุอาทิเช่น การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาเลยทำให้มีกรดมากัดกร่อนกระเพาะอาหาร การสูบบุหรี่-ดื่มสุรา รับประทานอาหารที่มีรสจัดเกินไป เป็นต้น สาเหตุต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นนั้น อาจจะเป็นเพียงเรื่องเล็กๆน้อยๆที่เราทุกคนมองข้าม แต่หากร่างกายของเราได้มีอาการดังกล่าวนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่หายขาด จะเป็นๆหายๆ และหากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานอาจถึงขั้นเสียชีวิตก็เป็นได้
 ดังนั้นเราควรใส่ใจกับสุขภาพของเราให้มากๆ หากรู้ตนเองว่าเป็นบุคลที่มีพฤติกรรมหรือมีอาการที่บอกไว้แล้วข้างต้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาแนวทางป้องกันและวิธีรักษาอาการดังกล่าว

ภาคผนวก









http://men.mthai.com/content/1755  เวลา 0:20 . 23/09/11



http://xn--12cl4ejkcb7dryebzcb6sf5j.blogspot.com  เวลา 0:22 .  23/09/11


http://xn--12cl4ejkcb7dryebzcb6sf5j.blogspot.com  เวลา 0:24 .  23/09/11

อ้างอิง

  1. http://www.phyathai.com/phyathai/article_disease_sub01_stomach.php เวลา 18:43 .  11/09/11
  2. http://www.thailabonline.com/sec51peptic.htm  เวลา 21:59 .  13/09/11
  3. http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/GI/pu/peptic_ulcer.htm  เวลา 22:41 .   16/09/11
  4. http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=17  เวลา 23:36 .  22/09/11
  5. http://men.mthai.com/content/1755  เวลา 0:20 . 23/09/11
  6. http://xn--12cl4ejkcb7dryebzcb6sf5j.blogspot.com  เวลา 0:22 .  23/09/11
  7. http://www.ku.ac.th/e-magazine/july46/know/bladder.html   เวลา 0:25 .  23/09/11

โดย นางสาวพิมพ์บุณยากรณ์  ทนหนองแวง ผู้จัดทำ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

นางสาวเบญจวรรณ โคตนุกูล รหัส 5305110015
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

                 นพ.สุรเกียรติอาชานานุภาพได้กล่าวไว้ว่า โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้หญิงแทบจะกล่าวได้ว่าผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ในทุกช่วงของชีวิต นับตั้งแต่เด็กถึงวัยชราโรคนี้สามารถป้องกันและรักษาได้ง่ายๆแต่ถ้าปล่อยให้ลุกลามจนกลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง1

สาเหตุ

 กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบบ่อยในสตรีโดยเฉพาะในช่วงอายุ 20-50ปีทั้งนี้เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชายและอยู่ใกล้กับทวารหนักเชื้อแบคทีเรียบริเวณทวารหนัก (ซึ่งปกติมีอยู่จำนวนมาก)จึงมีโอกาสสูงที่เคลื่อนเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการฟักตัวและอักเสบได้ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ 2 เชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่มักจะเป็นเชื้อโรคที่มีอยู่ในอุจจาระของคนเรา เช่น เชื้ออีโคไล  เคล็บซิลลา สูโดโมแนส เอนเทอโรแบกเตอร์เป็นต้นเชื้อเหล่านี้มักจะแปดเปื้อนอยู่ตรง บริเวณรอบๆ ทวารหนักเนื่องจากการชำระหลังถ่ายอุจจาระไม่ถูกต้องสมบูรณ์เชื้อโรคก็จะแปดเปื้อนต่อผ่านท่อปัสสาวะโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่มีท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้ทวารหนักจึงง่ายที่จะติดเชื้อเข้าไปในท่อปัสสาวะส่วนผู้ชายมีโอกาสติดเชื้อน้อยมาก  เนื่องจากท่อปัสสาวะยาวและอยู่ห่างจากทวารหนักมาก
   เมื่อเชื้อโรคเข้าไปอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ถ้ามีการถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวดก็สามารถขับเอาเชื้อโรคนั้นออกมาได้ ไม่เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะแต่ถ้าอั้นปัสสาวะอยู่นาน เช่น เวลารถติด หรือเดินทางไปต่างจังหวัด (ไม่สามารถเข้าห้องน้ำ หรือ กลัวห้องน้ำสาธารณะไม่สะอาด)หรือนอนกลางคืนแล้วขี้เกียจลุกเข้าห้องน้ำ  หรือหน้าน้ำท่วมไม่กล้าเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนกลัวมีงูเขี้ยวหรือทำอะไรเพลินจนลืมเข้าห้องน้ำ เป็นต้น เชื้อโรคที่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะจึงมีเวลานานพอที่จะแบ่งตัวเจริญแพร่พันธุ์ จนทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ  เกิดอาการขัดเบาขึ้นมาได้ 
 ด้วยเหตุนี้โรคนี้จึงมักพบได้ในผู้หญิงทั่วไปที่ไม่ระมัดระวังในการชำระล้างทวารหนักและชอบอั้นปัสสาวะ
  นอกจากนี้ในคนบางคนยังอาจมีเหตุชักนำให้เกิดโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป (เรียกว่ากลุ่มเสี่ยง)เช่น
           - คนที่เป็นเบาหวานซึ่งร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ มีโอกาสติดเชื้อง่าย ก็อาจเป็นโรคนี้ได้บ่อยถ้าหากพบว่ามีอาการของโรคนี้เกิดขึ้นซ้ำซาก ก็ควรจะตรวจดูว่ามีโรคเบาหวานซ่อนเร้น (ไม่แสดงอาการ) อยู่หรือไม่
           - หญิงตั้งครรภ์อาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้นเนื่องจากศีรษะเด็กในท้องกดดันให้เกิดการคั่งของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ
          - ผู้มีภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะเช่น ต่อมลูกหมากโต (ในคนสูงอายุ) ท่อปัสสาวะตีบ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะผู้ป่วยที่ถ่ายปัสสาวะไม่ได้เนื่องจากเป็นอัมพาต เป็นต้น
           - ผู้ป่วยที่มีการสวนปัสสาวะ หรือมีการคาสายสวนปัสสาวะหรือใช้เครื่องมือแพทย์สอดใส่ท่อปัสสาวะ1
การมีเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะในระยะแต่งงานกันใหม่ๆทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย2อาจมีอาการขัดเบา แบบกระเพาะปัสสาวะอักเสบแพทย์เรียกว่าโรคฮันนีมูน (Honeymoon's cystitis)สาเหตุเกิดจากการฟกช้ำจากการร่วมเพศแล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสสาวะ
  ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อยมาก ถ้าพบมักมีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่นต่อมลูกหมากโต หรือมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะหรือมีความผิดปกติทางโครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ
3

อาการ



จะมีอาการขัดเบา คือถ่ายปัสสาวะกะปริดกะปรอยออกทีละน้อยรู้สึกปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะมักจะต้องเข้าห้องน้ำทุกชั่วโมงหรือชั่วโมงละหลายครั้งมีอาการคล้ายถ่ายไม่สุดอยู่ตลอดเวลา   บางคนอาจมีอาการปวดตรงบริเวณท้องน้อย (หัวหน่าว) ร่วมด้วย   ปัสสาวะมักจะออกใสๆ แต่บางคนอาจขุ่นหรือมีเลือดปน   มักไม่มีไข้ ยกเว้นถ้ามีกรวยไตอักเสบร่วมด้วย จะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่นปวดเอวร่วมด้วยในเด็กเล็กอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนและอาจมีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย    อาการมักเกิดหลังอั้นปัสสาวะนานๆ หรือมีการสวนปัสสาวะ1

อาการแทรกซ้อน

        ส่วนมากมักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง แต่บางรายอาจเป็นๆ หายๆ เรื้อรังซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาเชื้อโรคอาจลุกลามขึ้นไปถึงกรวยไตและเนื้อไตได้ ซึ่งในกรณีเหล่านี้จะพบว่ามีอาการไข้สูงหนาวสั่น ปวดบริเวณบั้นเอว (ปวดหลังทั้งสองข้าง)บางรายมีอาการรุนแรงจนเกิดไตอักเสบและไตวายในผู้ชายเชื้ออาจลุกลามเข้าไปทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบ
3

การดูแลตนเอง

            เมื่อมีอาการขัดเบาซึ่งสงสัยเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบควรปฏิบัติตัวดังนี้
            1. ดื่มน้ำมากๆ วันละ 3 - 4 ลิตร (เฉลี่ยประมาณชั่วโมงละ 1 แก้ว) แล้วถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด  น้ำจะช่วยขับเชื้อโรคออกและช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ
            2. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 – 3 วัน จึงค่อยกินยาปฏิชีวนะการใช้ยาปฏิชีวนะควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน โดยทั่วไปถ้าไม่เคยแพ้ยามักจะแนะนำให้กินยาอะม็อกซีซิลลิน (ขนาด 500 มิลลิกรัม)  หรือยาเม็ดโคไตรม็อกซาโซลวันละ 2 ครั้ง ทุก 12 ชั่วโมง ผู้ใหญ่กินครั้งละ 2 เม็ด เด็กโตครั้งละ เม็ดถ้ารู้สึกดีขึ้น ควรกินให้ครบ 3 วัน เป็นอย่างน้อย
             3. เมื่อรักษาหายแล้ว ต่อไปต้องพยายามอย่าอั้นปัสสาวะเป็นอันขาดมิเช่นนั้นอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบก็จะกลับมาเป็นได้อีก
             4. ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เมื่อมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
                 (1) มีอาการไข้หนองไหล ตกขาว ถ่ายเป็นเลือด หรือกระหายน้ำบ่อยร่วมด้วย
                 (2) ดูแลตัวเอง 2 - 3 วัน แล้วยังไม่ดีขึ้น
                 (3) เป็นๆ หายๆบ่อย
                 (4) มีความวิตกกังวลหรือไม่มั่นใจจะดูแลรักษาตนเอง
                 (5) ผู้ชายทุกคนที่มีอาการขัดเบา แม้ว่าจะเริ่มเป็นครั้งแรก ก็ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุให้แน่ใจ เนื่องจากสรีระของผู้ชายมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบน้อยมากถ้ามีอาการอาจมีโรคอื่นซ่อนเร้นอยู่

การรักษา
           
                แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะพื้นฐาน เช่นอะม็อกซีซิลลิน (amoxycillin)โคไตรม็อกซาโซล  (cotrimoxazole)กิน 3 วัน แต่ถ้าสงสัยมีอาการแพ้ยา หรือดื้อยาเหล่านี้ก็อาจให้ยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่ง ได้แก่  นอร์ฟล็อกซาซิน (norfloxacin)
            ในรายที่เป็นๆ หายๆ บ่อย อาจต้องทำการตรวจพิเศษเช่น การนำปัสสาวะไปเพาะเชื้อ แล้วให้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อที่พบการใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะแล้วแก้ไขตามสาเหตุที่พบตรวจเลือดดูว่าเป็นเบาหวานร่วมด้วยหรือไม่ ถ้าพบก็ให้ยารักษาเบาหวานไปพร้อมกันเป็นต้น

การป้องกัน

            1. พยายามดื่มน้ำให้เพียงพอและอย่าอั้นปัสสาวะควรฝึกถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวดจนเป็นนิสัยเวลาเดินทางไกล ต้องฝึกให้เคยชินที่จะเข้าห้องน้ำนอกบ้าน ถ้ากลัวไม่สะอาดก็ชำระล้างโถส้วมให้สะอาดเสียก่อน เวลาเข้านอน ถ้าไม่สะดวกจะลุกเข้าห้องน้ำควรเตรียมกระโถนไว้ข้างเตียง

             2. หลังถ่ายอุจจาระ ควรชำระทวารหนักให้สะอาดการใช้กระดาษชำระควรเช็ดจากข้างหน้าไปข้างหลังจนสะอาดเพื่อป้องกันมิให้นำเชื้อโรคจากบริเวณ
ทวารหนักแปดเปื้อนเข้าท่อปัสสาวะ
1
             3. หมั่นรักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอด ท่อปัสสาวะและทวารหนัก
             4.  ผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบบ่อยๆ เรื้อรัง ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุแอบแฝงอื่นๆเช่น นิ่ว กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติจากระบบประสาทควบคุมหรือมีการอุดตันในกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบมีผลร้ายแรงหรือไม่ถ้ารักษาให้หายขาดจะไม่มีผลร้ายแรง ส่วนรายที่ไม่หายขาดนั้นเชื้อแบคทีเรียบางชนิดอาจมีผลทำให้การอักเสบลุกลามไปถึงส่วนใดก็จะทำให้เกิดการอักเสบได้ดังนั้นหลังรับประทานยาครบแล้ว จึงควรตรวจปัสสาวะซ้ำอีกครั้ง2

ผลไม้และสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

แครนเบอร์รี่Cranberry

แครนเบอร์รี่คือหนึ่งในผลไม้มหัศจรรย์ช่วยต้านการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจากงานวิจัยล่าสุดพบว่าช่วยป้องกันโรคเหงือกและแผลในช่องท้องได้ผลงานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดระบุว่า การดื่มน้ำแครนเบอร์รี่วันละ 300 มิลลิลิตร จะช่วยลดจำนวนแบคทีเรียในปัสสาวะลงได้แครนเบอร์รี่เป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียจึงมีสรรพคุณในการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
 ในแครนเบอร์รี่มีสารหลายชนิดที่ช่วยหยุดการเกาะตัวของแบคทีเรียที่บริเวณผนังทางเดินปัสสาวะคนที่เป็นโรคนี้ให้ดื่มน้ำแครนเบอร์รี่เข้มข้น ไม่มีน้ำตาลแก้วละ 300 มิลลิลิตรทุกวัน จะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ได้อีก โดยลักษณะของแครนเบอร์รี่ที่ให้ผลทางการป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพอาจะจะอยู่ในรูปของน้ำแครนเบอร์รี่หรือในรูปแคปซูลจากการศึกษาในกลุ่มของผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์กับการรักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะพบว่าสามารถลดอัตราการติดเชื้อได้ถึง 50%  หรือรับประทานอาหารเสริมที่มีสารสกัดจากแครนเบอร์รี่วันละ 800 มิลลิกรัมก็จะช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายแข็งแรงช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากอากาศหนาวเนื่องจากแครนเบอร์รี่มีวิตามินซีสูงจึงช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่มากับอากาศหนาวได้ นอกจากนี้วิตามินซีในแครนเบอร์รี่ยังช่วยให้ผิวพรรณชุ่มชื่นจึงเหมาะที่จะนำไปทำเป็นลิปมันเพื่อป้องกันริมฝีปากแห้งแตกในช่วงหน้าหนาวด้วย สารสกัดจากผลเบอร์รี่อย่างแครนเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่และแบล็กเบอร์รี่นั้นอุดมไปด้วยวิตามินซีและสารฟลาโวนอยด์ที่ชื่อแอนโธไซยานิดินส์ (Anthocyanidins) สามารถเสริมสร้างและฟื้นฟูคอลลาเจนได้และจากการศึกษาพบว่าสารในแครนเบอร์รี่ยังงช่วยต่อต้านอาการป่วยเรื้อรังของสมองอย่างอาการความจำ
               
 ในวงการแพทย์ได้ยอมรับกันอย่างกว้างขวางแล้วว่าแครนเบอร์รี่ไม่ว่าจะเป็นในรูปของน้ำผลไม้ แคปซูล ชงดื่ม รวมถึงการนำมาทำอาหาร  แยมหรือแม้แต่ น้ำแครนเบอร์รี่หรือในปัจจุบันมีการผลิตมาให้อยู่ในรูปของอาหารเสริมแบบแคปซูล-ซอฟเจลต่างก็ให้ประสิทธิภาพในการรักษาและป้องกันโรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะและอวัยวะภายในช่องท้องของสตรีสตรีที่มักประสบปัญหาการอั้นปัสสาวะและเกิดการอักเสบขื้นภายในเมื่อได้รับประทานแครนเบอรี่อย่างน้อยเพียง 2 วัน ก็จะเห็นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นจากการวิจัยใหม่ยังยกให้แครนเบอร์รี่เป็นตัวการสำคัญในการยับยั้งและรักษาการเกิดก้อนหินในไต ช่วยลดกรดไขมันในเส้นเลือด (ไขมันเลว)ช่วยให้ร่างกายสามารถคืนสู่ปกติได้หลังจากอาการชักและสำคัญกว่านั้นคือช่วยในด้านการป้องกันมะเร็ง cranberryไม่ใช่ยาแต่เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติซึ่งมาจากผลแครนเบอร์รี่ที่ปลูกในแถบอเมริกาเหนือจึงสามารถรับปะทานได้โดยไม่มีผลข้างเคียงใดๆ  ผล
รักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อ ในท่อปัสสาวะ  ขจัดกลิ่นในปัสสสาวะ (ช่วยให้อวัยวะเพศสะอาด)  รักษาและป้องกันเกี่ยวกับโรคที่มาจากเชื้อแบคทีเรียในผลแครนเบอร์รี่ประกอบด้วยสารแอนตี้ออกซิเดนซ์จำนวนมากจึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งยังช่วยให้ผิวพรรณเกลี้ยงเกลา
สรรพคุณ และประโยชน์ของแครนเบอร์รี่
1.ช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ
2.ช่วยลดจำนวนแบคทีเรียในปัสสาวะลง
3.มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
4.กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
5.ช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่มากับอากาศหนาว
6.วิตามินซีในแครนเบอร์รี่ยังช่วยให้ผิวพรรณชุ่มชื่น
7.ป้องกันริมฝีปากแห้งแตกในช่วงหน้าหนาว
8.สามารถเสริมสร้างและฟื้นฟูคอลลาเจน
9.แครนเบอร์รี่ยังงช่วยต่อต้านอาการป่วยเรื้อรังของสมองอย่างอาการความจำ
10.ช่วยป้องกันโรคเหงือก
11.แผลในช่องท้อง
12.การยับยั้งและรักษาการเกิดก้อนหิน ในไต
13.ช่วยในด้านการป้องกันมะเร็ง
14.ช่วยลดกรดไขมันในเส้นเลือด
15.ช่วยลดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อในท่อปัสสาวะ
16.ขจัดกลิ่นในปัสสสาวะ (ช่วยให้อวัยวะเพศสะอาด)
17.เป็นตัวยับยั้งเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E.coli)4

กระเจี๊ยบแดงพืชสมุนไพรรักษาอาการขัดเบา-ปัสสาวะไม่ค่อยออก(Urinary System)

อาการขัดเบาคือลักษณะอาการที่ปัสสาวะไม่ค่อยออกปัสสาวะแบบกะปริบกะปรอยรู้สึกเหมือนปัสสาวะไม่สุดอาการขัดเบามีสาเหตุจากหลายประการเช่น โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคนิ่วต่อมลูกหมากโต โรคหนองในหรือดื่มน้ำน้อย ฯลฯ ทำให้การปัสสาวะเป็นไปอย่างยากลำบากคนที่เป็นโรคขัดเบาจะปัสสาวะบ่อยและแต่ละครั้งที่ปัสสาวะจะมีน้ำปัสสาวะออก มาน้อยที่แย่ไปกว่านั้นคือปวดอยากจะฉี่แต่ฉี่ไม่ค่อยออก(ไม่ได้ดั่งใจเลย)โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะบางโรคจะมีอาการปวดเสียดท้องน้อยหรือปัสสาวะขุ่นแดงหรือปัสสาวะขุ่นขาวร่วมด้วย5

ต้นทองกวาว


สำหรับสรรพคุณด้านพืชสมุนไพร ได้แก่
ยางใช้รับประทานแก้ท้องร่วงเลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ขับพยาธิ
ใบใช้ตำพอกแก้ฝีและสิว ถอนพิษ แก้ปวด แก้ท้องขึ้น แก้ริดสีดวง ขับพยาธิ
ดอกรับประทานถอนพิษได้ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ ลดความกำหนัด ขับพยาธิใช้หยอดตาแก้ตาแดง ปวดเคืองตา ตาแฉะ ตามัว
เมล็ดบดให้ละเอียดผสมน้ำมะนาวใช้ทาแก้ผิวหนังเป็นผื่นแดง อักเสบคันและแสบร้อน (ข้อควรระวัง พบสารในเมล็ดออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนมีผลเสียต่อสตรีที่กำลังตั้งครรภ์)
แก่นทาแก้ปวดฟัน
รากประคบบริเวณที่เป็นตะคริว ขับพยาธิ
6
เสาวรส
คุณประโยชน์ของเสาวรสมีวิตามินเอสูงและสารแคโรทีนอยด์จากการศึกษาพบว่าวิตามินซีของน้ำเสาวรสจะมีมากกว่าที่พบในมะนาว และพบสาร Albumin homologous protein จากเมล็ด สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ แก้อาการนอนไม่หลับลดไขมันในเส้นเลือดและโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ7



สรุป

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ในทุกช่วงของชีวิต นับตั้งแต่เด็กถึงวัยชราโดยเฉพาะผู้หญิงในช่วงอายุ 20-50ปี เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชายและอยู่ใกล้กับทวารหนักเชื้อแบคทีเรียบริเวณทวารหนัก (ซึ่งปกติมีอยู่จำนวนมาก)จึงมีโอกาสสูงที่เคลื่อนเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการฟักตัวและอักเสบได้ โรคกระเพาะปํสสาวะอักเสบนี้อาจมีสาเหตุหลายๆด้าน เช่น การไดรับเชื้ออีโคไล  เคล็บซิลลา สูโดโมแนส เอนเทอโรแบกเตอร์ เป็นต้น และการอักเสบของปัสสาวะยังมีปัจจัยสนับสนุนที่ส่งผลให้เกิดโรคนี้อีก เช่น การกลั้นปัสสาวะ การทำความสะอาดที่ผิดวิธี หรือการใช้ห้องน้ำที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ปัจจัยต่างๆที่ได้กล่าวมานั้นป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้เกิดโรคเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงที่มาจากโรคประตัวเดิมที่ตนเป็นอยู่แล้ว เช่น ผู้มีภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
ดังนั้นเราควรป้องกันตนเองโดยพยายามดื่มน้ำให้เพียงพอใช้ห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะ และอย่ากลั้นปัสสาวะ ฝึกถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวดจนเป็นนิสัยเวลาเดินทางไกล ต้องฝึกให้เคยชินที่จะเข้าห้องน้ำนอกบ้าน  และถ้ามีอาการอักเสบบ่อยๆหรือเรื้อรัง ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุแอบแฝงอื่นๆ


อ้างอิง

1.             นพ.สุรเกียรติอาชานานุภาพแหล่งที่มา:http://www.vcharkarn.com  วันที่4 /11/54 เวลา22.17น.
2.             Mootieแหล่งที่มา :http://www.thaihealth.or.th  วันที่4/11/54 เวลา 22.25น.
3.             โรงพยาบาลพญาไทย แหล่งที่มา :http://www.phyathai.com  วันที่4/11/54เวลา 22.40น.
4.             Boontawee แหล่งที่มา http://boontaweee.blogspot.com  วันที่  4/11/54เวลา  22.31น.
5.             แหล่งที่มา:  thai-herbs-for-goodhealth.blogspot.com วันที่ 7/11/54 เวลา  19.19น.
6.             แหล่งที่มา :http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php วันที่8/11/54 เวลา 18.18 น.
7.             แหล่งที่มา:http://www.rakball.net/overview.php วันที่ 7/11/54 เวลา 19.08น.


โดย นางสาวเบญจวรรณ  โคตนุกูล ผู้จัดทำ